ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม เป็นต้นไป หลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า หากวันไหนฟ้าไม่มีเมฆมาก ให้ลองสังเกตหาดาวหางบริเวณใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตก ซึ่งดาวหางดวงนี้จะใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2556 โดยโอกาสที่จะเห็นได้ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย จะอยู่ในช่วงวันที่ 8-12 มีนาคม ซึ่งดาวหางจะอยู่สูงจากขอบฟ้ามากที่สุด และยังเป็นช่วงที่ดาวหางจะผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์มีสุกสว่างมากที่สุดในวันที่ 10 มีนาคม 2556 ที่จะถึงนี้
โดยสังเกตได้หลังดวงอาทิตย์ตกดินประมาณ 30 นาที หันหน้าไปทางทิศตะวันตกอยู่ใกล้ขอบฟ้าในกลุ่มดาวปลาคู่ และควรอยู่บริเวณที่ท้องฟ้ามืดสนิทปราศจากแสงรบกวน ในสถานที่ไม่มีสิ่งใดบดบัง เช่น บนยอดดอย บริเวณสถานที่โล่งกว้าง บนยอดตึกสูง เป็นต้น ทั้งนี้อาจจะสังเกตได้ยากและอาจจะเห็นในส่วนของหางเท่านั้น เนื่องจากดาวหางอยู่ใกล้กับขอบฟ้า และควรใช้กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
อุปสรรคสำคัญในการสังเกตดาวหางดวงนี้ในช่วงดังกล่าว คือดาวหางอยู่ห่างดวงอาทิตย์ 15° จึงมีเวลาสังเกตได้ไม่นานก่อนตกลับขอบฟ้า และดาวหางจะอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก จึงต้องสังเกตจากสถานที่ที่ขอบฟ้าทิศตะวันตกเปิดโล่ง ไม่มีสิ่งใดบดบัง หรือสังเกตจากอาคารสูง และอาจต้องใช้กล้องสองตาช่วยกวาดหาบริเวณขอบฟ้า ตาเปล่ามีโอกาสเห็นได้ หากดาวหางสว่างมาก มีหางยาว และท้องฟ้าเปิด ไม่มีเมฆหมอกและฝุ่นควันบดบัง
อ่านต่อคลิ๊กที่นี่ ชวนดู “ดาวหางแพนสตาร์ส” (PANSTARRS) เห็นชัดสุด วันที่ 8-12 มี.ค. 56 นี้
ที่มา www.chillpainai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น